คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของพลอยคะ (นางสาวพลอยไพลิน อาจหาญ คณะศึกษาศาสตร์ เอกการศึกษาปฐมวัย)

วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13


การดูแลและการส่งเสริมเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

แนวทางการดูแลรักษาและการป้องกันกลุ่มอาการดาวน์ ได้แก่
การดูแลรักษาเด็กที่เป็น กลุ่มอาการดาวน์ เนื่องจากเป็นโรคของพันธุกรรม จึงไม่มียารักษาได้นอกจากจะไม่ให้เด็กเกิดออกมา แต่เมื่อเด็กเกิดออกมาแล้ว การดูแลเด็กเหล่านี้จะต้องอาศัยความร่วมมือจากพ่อแม่ และสังคมรอบข้างร่วมกัน เพื่อให้เด็กเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุด และไม่ก่อปัญหากับสังคมต่อไป
ในเด็กแรกเกิด จะต้องตรวจภาพอัลตราซาวน์หัวใจ (Echocardiogram) ถ้าพบมีหัวใจพิการ ก็อาจต้องผ่าตัดรักษา รวมทั้งตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะภายในอื่นๆ เช่น ถ้าพบหลอดอาหารตัน ก็ต้องผ่าตัดรักษา
การตรวจหาการทำงานของต่อมไทรอยด์ในเด็กแรกเกิด และตรวจต่อ เนื่องต่อไปทุกปี เพื่อประเมินว่ามีภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำหรือไม่ ถ้ามีก็ต้องให้ยารักษา เพื่อไม่ให้ระดับสติปัญญาแย่ลงไปกว่าเดิม
การตรวจดูเม็ดเลือดเป็นประจำโดยเฉพาะในช่วงวัยทารกและวัยเด็ก เพราะมี ความเสี่ยงที่จะเกิดเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้
การให้ข้อมูลคำปรึกษากับพ่อแม่ที่มีลูกเป็น กลุ่มอาการดาวน์ ซึ่ง เรียกว่า Genetic counseling
สำหรับพ่อแม่ที่มีโครโมโซมปกติ เมื่อพ่อแม่มีลูกเป็น กลุ่มอาการดาวน์ แล้ว 1 คน โอกาสที่ลูกคนต่อไปจะเป็นโรคนี้คือประมาณ 1% แม้ว่าแม่จะอายุน้อยก็ตาม แต่ถ้าแม่มีอายุมากแล้ว โอกาสก็จะมากกว่านี้ สำหรับพี่น้องของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ เมื่อแต่งงานมีลูก ความเสี่ยงไม่ได้เพิ่มขึ้น คือมีความเสี่ยงเหมือนคนปกติทั่ว ไปดังได้กล่าวแล้ว
สำหรับพ่อแม่ที่เป็นพาหะ ในกรณีที่มีลูกเป็น กลุ่มอาการดาวน์ และได้ตรวจลูกพบว่ามีสารพันธุกรรมของโครโมโซมคู่ที่ 21 เพิ่มขึ้นจากผลของการมี Robert sonian translocation เกิดขึ้น แสดงว่ามีพ่อ หรือแม่คนใดคนหนึ่งเป็นพาหะของ กลุ่มอาการดาวน์ อยู่ ดังนั้นทั้งพ่อและแม่จะต้องมาตรวจหาโครโมโซม
ในกรณีที่แม่เป็นพาหะแบบที่มี Robertsonian translocation ระหว่างโครโมโซมแท่งที่ 21 กับแท่งอื่นๆ จะมีโอกาสที่มีลูกเป็น กลุ่มอาการดาวน์ คือ 10-15% แต่ถ้าเป็นพ่อที่เป็นพาหะ โอกาสที่จะมีลูกเป็น กลุ่มอาการดาวน์ คือ 2-3% เหตุใดจึงมีเปอร์เซ็นต์แตกต่างกันระหว่างพ่อและแม่นั้น ยังไม่มีผู้อธิบายได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น