คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของพลอยคะ (นางสาวพลอยไพลิน อาจหาญ คณะศึกษาศาสตร์ เอกการศึกษาปฐมวัย)

วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทักการเรียน ครั้งที่ 6


เนื้อหาที่เรียน  เด็กที่มีควาามบกพร่องทางพัฒนาการ



เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
          หมายถึง เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกันที่สามารถทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้  เช่น เด็กอายุ 20 เดือนแต่ยังเดินไม่ได้ ในขณะที่เด็กปกติเริ่มเรียนรู้ที่จะเดินและเดินได้ในช่วงอายุ 9 – 15 เดือน เป็นต้น โดยความล่าช้านั้นปรากฏให้เห็นตั้งแต่วัยทารกและวัยเด็กตอนต้น พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หลายด้าน หรือทุกด้าน(global developmental delay) และพัฒนาการล่าช้าในด้านหนึ่งอาจส่งผลให้พัฒนาการในด้านอื่นล่าช้าด้วยก็ได้
ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
          ปัจจัยทางด้านชีวภาพ เกี่ยวข้องกับลักษณะทางพันธุกรรมหรือชุดหน่วยของยีนที่เด็กได้รับสืบทอดมาจากบิดามารดา
          ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด การติดเชื้อ สารพิษ สภาวะทางโภชนาการและการเจ็บป่วยของมารดาส่งผลต่อพัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์
          ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด  การเกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะคลอด เช่น ภาวะขาดออกซิเจนในขณะคลอด
          ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด สภาวะหลังคลอด ปัจจัยด้านระบบประสาท และสภาพแวดล้อมส่งผลร่วมกันต่อพัฒนาการของเด็ก เด็กที่ไม่มีบิดามารดา หรือเด็กที่ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่  อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่แออัด ยากจน เด็กถูกทอดทิ้ง-ล่วงละเมิด ปัจจัยด้านการศึกษา  เชาวน์ปัญญา และความสามารถของมารดา ในการจัดสภาพการเรียนรู้ของเด็ก
สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
          1. โรคพันธุกรรม เด็กจะมีพัฒนาการล่าช้ามาตั้งแต่เกิดหรือสังเกตได้ชั่วระยะไม่นานหลังเกิด  มักมีลักษณะผิดปกติแต่กำเนิดร่วมด้วย กลุ่มอาการดาวน์เป็นความผิดปกติของโครโมโซมซึ่งเป็นสาเหตุของความบกพร่องทางพัฒนาการหรือภาวะบกพร่องทางสติปัญญาที่พบบ่อยที่สุด ในปัจจุบันมีโรคทางพันธุกรรมที่เป็นสาเหตุของความบกพร่องทางพัฒนาการอีกหลายโรคซึ่งมีลักษณะจำเพาะและการตรวจโครโมโซมด้วยวิธีธรรมดามักให้ผลปกติ ได้แก่ กลุ่มอาการโครโมโซมเอกซ์เปราะ (Fragile X syndrome), กลุ่มอาการพราเดอร์ - วิลลี่ (Prader-Willi syndrome) และ  velocardiofacial syndrome เป็นต้น



          2. โรคของระบบประสาท เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการส่วนใหญ่มักมีอาการหรืออาการแสดงทางระบบประสาทร่วมด้วย  ที่พบบ่อยคืออาการชัก และความตึงตัวของกล้ามเนื้อผิดปกติ ในกรณีที่เด็กมาพบแพทย์ด้วยพัฒนาการล่าช้าและมีอาการชัก ควรถามประวัติโดยเฉพาะอายุที่เริ่มมีพัฒนาการล่าช้าและตรวจร่างกายอย่างละเอียดเพื่อวินิจฉัยแยกโรค โดยเฉพาะมีพยาธิสภาพเป็น static หรือ progressive เด็กที่มีประวัติพัฒนาการถดถอย(regression) ควรได้รับการพิจารณาส่งต่อแพทย์ทางระบบประสาทต่อไป

          3. การติดเชื้อ โรคในกลุ่มนี้ที่สำคัญคือการติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เด็กมักมีน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย ศีรษะเล็กกว่าปกติ อาจมีตับม้ามโต การได้ยินบกพร่อง และต้อกระจกร่วมด้วย นอกเหนือจากการส่งซีรั่มเพื่อตรวจหาหลักฐานการติดเชื้อ toxoplasma, rubella, cytomegalovirus, syphilis และ histoplasma แล้วยังควรพิจารณาส่งตรวจหาการติดเชื้อ human immunodeficiency virus ด้วย นอกจากนี้การติดเชื้อรุนแรงภายหลังเกิด เช่น สมองอักเสบ เยื้อหุ้มสมองอักเสบ เป็นสาเหตุที่พบได้บ้าง

          4. ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม โรคที่ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขไทย คือ ไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ ในกรณีที่เป็นมาแต่กำเนิดและไม่ได้รับการรักษาก่อนอายุ 2-3 เดือน เด็กจะมีระดับสติปัญญาต่ำกว่าปกติอย่างถาวรซึ่งแก้ไขไม่ได้  แม้จะให้ไทรอยด์ฮอร์โมนในภายหลัง นอกจากไทธัยรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ โรคอื่นๆ ในกลุ่มนี้ เช่น ความผิดปกติของกรดอะมิโนมีอัตราการเกิดโรคค่อนข้างต่ำและยังมีข้อจำกัดในการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการอยู่ จึงทำให้เด็กซึ่งมีความบกพร่องทางพัฒนาการจำนวนหนึ่งไม่ได้รับการวินิจฉัยโรคแน่นอน แม้จะมีลักษณะทางคลินิกบ่งชี้ก็ตาม ปัจจุบันการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติทางเมตาบอลิซึมแต่กำเนิดมีความก้าวหน้ามาก มีการค้นพบความผิดปกติถึงส่วนย่อยของเซลล์ เช่น mitochondria, peroxisome เป็นต้น 


วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4


เนื้อหาที่เรียนในวันนี้
- เด็กที่มีความบกพร่องด้านพฤติกรรมและอารมณ์
- เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้
- เด็กออทิสติก
- เด็กพิการซ้ำซ้อน
สรุปเนื้อหา


ลักษณะบางอย่างของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ที่พอ สังเกตได้แบ่งเป็น
ลักษณะพฤติกรรมไม่สมวัยอันอาจนำไปสู่ความบกพร่องทางบุคลิกภาพและการปรับตัวหากได้รับการแก้ไข มีดังนี้
หยิบสิ่งที่ไม่ใช่อาหารเข้าปาก
-  กินอาหารยาก หรือเบื่ออาหาร
กินจุ พร่ำเพรื่อ
- อุจจาระ ปัสสาวะ รดเสื้อผ้า หรือที่นอน
-  ยังติดขวดนม หรือตุ๊กตา
-  พูดน้อยคำ
-  พูดไม่เป็นภาษาที่ฟังเข้าใจ
- พูดไม่ชัด
- พูดเสียงเบา ค่อยๆ
- อารมณ์หวั่นไหวง่ายต่อสิ่งเร้า การถูกวิจารณ์ หรือต่อการเปลี่ยนแปลง
- ระแวง
- ย้ำคิดย้ำทำ
ก้าวร้าว


ลักษณะบางอย่างของเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ที่พอสังเกตได้ มีดังนี้
แยกความแตกต่างของขนาดและรูปทรงไม่ได้
จำตัวเลขไม่ได้
นับเลขไม่ได้
ใช้เครื่องหมาย บวก ลบ คูณ หาร ไม่ได้เมื่อเรียนแล้ว
คำนวณผิด แม้จะใช้เครื่องหมายถูก
มีปัญหาในการเรียนคณิตศาสตร์
เข้าใจคำศัพท์น้อยมาก 


เด็กออทิสติก
ลักษณะของเด็กออทิสติก มีดังนี้
อยู่ในดลกของตัวเอง คือไม่สนใจต่อความรู้สึก ของคนอื่น
ไม่สนใจที่จะเข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
ไม่เข้าไปเล่นกับกลุ่มเพื่อนๆ
ไม่ยอมพูด ส่วนการเล่นเสียงจะไม่มีแบบแผนแน่นอน อาจแตกต่างกันไปในแต่ละวัน 


สรุป  เด็กแต่ละกลุ่ม มีความจำเป็นต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือเป็นพิเศษเหมือนกัน แต่ด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน ตามความเหมาะสมของเด็กแต่ละกลุ่ม แต่ละคน 

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3



-       สิ่งที่เรียนในวันนี้
-       เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
-       เด็กที่มีปัญหาด้านการพูดและภาษา

-       เด็กที่มีปัญหาด้านพฤติกรรมและอารมณ์

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2




-       อาจารย์อธิบายเรื่องการให้คะแนน  กฎ ระเบียบต่างๆ
-       งานกลุ่มที่ต้อง Present
-       ความเด็กพิเศษทางการแพทย์
-       ความหมายเด็กพิเศษทางการศึกษา
-       เด็กพิเศษแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
-       กลุ่มเด็กที่มีความสามารถพิเศษสูงที่มีความเลิศทางปัญญา เรียกทั่วๆไปว่าเด็กปัญญาเลิศ
-       เด็กที่มีลักษณะความบกพร่องทางปัญญา
-       กระทรวงศึกษาพิการแบ่งเด็กพิเศษเป็น 9 ประเภท
-       สิ่งที่เรียนวันนี้  เรียน 3 ประเภทคือ
-       1. เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
-       2. เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

-       3. เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น

วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1




สิ่งที่เรียนในวันนี้  อาจารย์อธิบายรายวิชาและสิ่งที่จะต้องเรียนในเทอมนี้
ถาม – ตอบเกี่ยวกับความหมายของเด็กพิเศษ
ทำกิจกรรมในห้อง ทำ My mapping  ความหมายของเด็กพิเศษ

งานที่ได้รับมอบหมาย  หางานวิจัยเกี่ยวกับเด็กพิเศษ