คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของพลอยคะ (นางสาวพลอยไพลิน อาจหาญ คณะศึกษาศาสตร์ เอกการศึกษาปฐมวัย)

วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สรุปงานวิจัย


รายงานการวิจัย เรื่อง ผลการใช้โปรแกรม ARS  ต่อต้านความพร้อมในการเข้าสู่ระบบการศึกษษของเด็กออทิสติกปฐมวัย  สถาบันราชานุกูล  นาง พนิดา  รัตนไพโรจน์
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข 2553
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

เด็กออทิสติกเป็นหนึ่งในกลุ่มเด็กพิเศษที่จำต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือ เนื่องจากข้อจำกัดหรือข้อบกกพร่องด้านพัฒนาการที่เห็นได้ชัดในการสื่อความหมาย ทักษะทางสังคม  รวมถึงการมีพฤติกรรม หรือรูปแบบการดำเนินชีวิตประจำวันที่เป็นอุปสรรคในการดำรงชีวิต ร่วมกับครอบครัว สังคมอย่างปกติสุข การจัดบริการผู้ป่วยออทิสติก เป็นบริการแบบทีมสหวิชาชีพ 
-                   โดยมีพยาบาลเป็นทีมบุคลากรหลักในการช่วยเหลือ ตามแนวคิดครู หมอ พ่อแม่ ด้วยการจัดบริการแบบโปรแกรม คือโปรแกรมพื้นฐานintensive program มุ่งพัฒนาศักยภาพและฝึกทักษะต่างๆที่เด็กบกพร่อง รวมทั้งพัฒนาศักยภาพของพ่อแม่ในด้านความรู้และทักษะการดูแลเด็กออทิสติกปฐมวัย
-                   วัตถุประสงค์
-                   เพื่อศึกษาผลของโปรแกรม ARS ที่มีความพร้อมในการเข้าสู่ระบบการศึกษา ของเด็กปกติปฐมวัยสถาบันราชานุกูล
-                   เพื่อเปรียบเทียบความพร้อมในการเข้าส่ระบบการศึกษาของเด็กปฐมวัยสถาบันราชานุกูล ก่อนและหลังการใช้โปรแกรม ARS
-                   ตัวแปร
-                   ตัวแปรอิสร   ได้แก่ การใช้โปรแกรม ARS

-                   ตัวแปรตาม  ได้แก่  ความพร้อมในการเข้าสู่การศึกษาของเด็ก

วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13


การดูแลและการส่งเสริมเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

แนวทางการดูแลรักษาและการป้องกันกลุ่มอาการดาวน์ ได้แก่
การดูแลรักษาเด็กที่เป็น กลุ่มอาการดาวน์ เนื่องจากเป็นโรคของพันธุกรรม จึงไม่มียารักษาได้นอกจากจะไม่ให้เด็กเกิดออกมา แต่เมื่อเด็กเกิดออกมาแล้ว การดูแลเด็กเหล่านี้จะต้องอาศัยความร่วมมือจากพ่อแม่ และสังคมรอบข้างร่วมกัน เพื่อให้เด็กเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุด และไม่ก่อปัญหากับสังคมต่อไป
ในเด็กแรกเกิด จะต้องตรวจภาพอัลตราซาวน์หัวใจ (Echocardiogram) ถ้าพบมีหัวใจพิการ ก็อาจต้องผ่าตัดรักษา รวมทั้งตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะภายในอื่นๆ เช่น ถ้าพบหลอดอาหารตัน ก็ต้องผ่าตัดรักษา
การตรวจหาการทำงานของต่อมไทรอยด์ในเด็กแรกเกิด และตรวจต่อ เนื่องต่อไปทุกปี เพื่อประเมินว่ามีภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำหรือไม่ ถ้ามีก็ต้องให้ยารักษา เพื่อไม่ให้ระดับสติปัญญาแย่ลงไปกว่าเดิม
การตรวจดูเม็ดเลือดเป็นประจำโดยเฉพาะในช่วงวัยทารกและวัยเด็ก เพราะมี ความเสี่ยงที่จะเกิดเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้
การให้ข้อมูลคำปรึกษากับพ่อแม่ที่มีลูกเป็น กลุ่มอาการดาวน์ ซึ่ง เรียกว่า Genetic counseling
สำหรับพ่อแม่ที่มีโครโมโซมปกติ เมื่อพ่อแม่มีลูกเป็น กลุ่มอาการดาวน์ แล้ว 1 คน โอกาสที่ลูกคนต่อไปจะเป็นโรคนี้คือประมาณ 1% แม้ว่าแม่จะอายุน้อยก็ตาม แต่ถ้าแม่มีอายุมากแล้ว โอกาสก็จะมากกว่านี้ สำหรับพี่น้องของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ เมื่อแต่งงานมีลูก ความเสี่ยงไม่ได้เพิ่มขึ้น คือมีความเสี่ยงเหมือนคนปกติทั่ว ไปดังได้กล่าวแล้ว
สำหรับพ่อแม่ที่เป็นพาหะ ในกรณีที่มีลูกเป็น กลุ่มอาการดาวน์ และได้ตรวจลูกพบว่ามีสารพันธุกรรมของโครโมโซมคู่ที่ 21 เพิ่มขึ้นจากผลของการมี Robert sonian translocation เกิดขึ้น แสดงว่ามีพ่อ หรือแม่คนใดคนหนึ่งเป็นพาหะของ กลุ่มอาการดาวน์ อยู่ ดังนั้นทั้งพ่อและแม่จะต้องมาตรวจหาโครโมโซม
ในกรณีที่แม่เป็นพาหะแบบที่มี Robertsonian translocation ระหว่างโครโมโซมแท่งที่ 21 กับแท่งอื่นๆ จะมีโอกาสที่มีลูกเป็น กลุ่มอาการดาวน์ คือ 10-15% แต่ถ้าเป็นพ่อที่เป็นพาหะ โอกาสที่จะมีลูกเป็น กลุ่มอาการดาวน์ คือ 2-3% เหตุใดจึงมีเปอร์เซ็นต์แตกต่างกันระหว่างพ่อและแม่นั้น ยังไม่มีผู้อธิบายได้

วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12


นำเสนอเด็กออทิสติก

หลักการเลี้ยงดูเด็กออทิสติก
-         ยอมรับและเข้าใจความต้องการพิเศษของเด็ก
-         ให้ความรักและความสนใจในตัวเด็ก
-         พัฒนาและช่วยเหลือเด็กให้ช่วยเหลือตนเองได้
-         ชมเชยและชื่นชม เมื่อเด็กมีการแสดงออกที่เหมาะสมเพื่อให้เด็ก
รู้สึกภูมิใจและมั่นใจ
-         สอนเด็กอย่างต่อเนื่อง มีการวางแผนอย่างสม่ำเสมอ จัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย และความสามารถของเด็ก
-         กระตุ้นทักษะทางภาษาอย่างต่อเนื่อง พูดคุยโต้ตอบขณะที่เด็กมีกิจกรรมต่าง ๆ
-         สอนทักษะทางสังคมที่เหมาะสมแก่เด็ก เริ่มจากการมองสบตา ทักษะการฟัง การเล่นกับกลุ่ม การรอคอย พยายามพาเด็กออกสู่สังคมจริง และสอนในทุกสถานการณ์อย่างเข้าใจ ใจเย็นและอดทน
ลักษณะที่เด่นชัดของเด็กออทิสติก
 ปัญหาด้านความสัมพันธ์
-        ไม่สบตากับผู้อื่น
-        ขาดความสนใจบุคคลรอบข้าง
-        ไม่เล่นกับเด็กคนอื่น ๆ
ปัญหามีพฤติกรรมแปลก ๆ
-        ทำท่าทางแปลก ๆ
-        หัวเราะไม่สมเหตุสมผล
-        ชอบหมุนวัตถุ
-        สนใจวัตถุ / สิ่งของซ้ำ ๆ
ปัญหาทางภาษา
-        การสื่อสารกับคนอื่นไม่เข้าใจ
-        พูดเรียนแบบเหมือนนกแก้ว
-        พูดเรื่องเดียวซ้ำ ๆ
ปัญหาด้านการรับรู้
-        ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงในชีวิต  เช่นสถานที่
-        การรับรู้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ผิดปกติ เช่น ทากาว
ปัญหาที่พบบ่อย ๆ ของเด็กออทิสติก
-        ผลกระทบจากภาพและเสียง
-        ชอบกินอาหารชนิดเดิมซ้ำๆ   ไม่ยอมกินอาหารบางอย่าง
-        การใช้ห้องน้ำ
-        การติดเสื้อผ้าตัวเดิม
-        ชอบพูดเลียนซ้ำคำพูดหรือเพลงโฆษณาในโทรทัศน์
-        ความจำสัญลักษณ์ต่าง ๆ  เวลา
-        การกระตุ้นตนเอง
-        ปัญหาการนอน

วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557

วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 10

 นำเสนอรายงานกลุ่ม
- เด็กภาวะการเรียนบกพร่อง
- เด็กสมองพิการ
- เด็กสมาธิสั้น
- ดาวน์ซินโดม

เด็กสมองพิการ โดยแบ่งสาเหตุการเกิดได้ 3 ระยะ คือ
1. ระยะที่เด็กอยู่ในครรภ์มารดาหรือระยะก่อนคลอด(prenatal period) นับตั้งแต่มารดาตั้งครรภ์จนถึงอายุครรภ์ 6 เดือน ซึ่งได้แก่
-  ภาวะการติดเชื้อของมารดาระหว่างตั้งครรภ์  เช่น โรคหัดเยอรมัน ซิฟิลิส เริม มาเลเรีย เอดส์
 -  ภาวะการขาดออกซิเจนของทารกในครรภ์ เช่น มารดาที่มีเลือดออกระหว่างตั้งครรภ์คล้ายจะแท้ง หรือมีการลอกตัวของรกก่อนกำหนด มารดาขาดอาหารหรือซีดมาก
2. ระยะระหว่างคลอด(perinatal period)นับตั้งแต่ 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์จนถึงสัปดาห์แรกหลังคลอด ได้แก่
-  เด็กคลอดก่อนกําหนด และเด็กที่มีน้ำหนักตัวน้อย คือ ต่ำกว่า 2,500 กรัม จะมีความเสี่ยงสูงที่จะสมองพิการ
-  ภาวะการขาดออกซิเจนในเด็กระหว่างคลอด จากการคลอดลำบาก คลอดผิดปกติ เช่น คลอดท่าก้น หรือสายสะดือพันคอ  เด็กสำลักน้ำคร่ำ หรือ การคลอดที่ต้องใช้เครื่องช่วย เช่น คีมคีบ หรือ เครื่องดูดศีรษะ
 3.ระยะหลังคลอด (postnatal period) ได้แก่
-  ภาวะสมองเด็กขาดออกซิเจน เช่น ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด การวางยาสลบ การจมน้ำ 
-  การติดเชื้อของเด็ก เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคสมองอักเสบ โรคหัด เป็นต้น
-  อุบัติเหตุที่ทำให้มีอันตรายต่อสมองของเด็ก เช่น กะโหลกร้าว มีเลือดออกในสมอง
อาการและอาการแสดง
            ส่วนใหญ่พ่อแม่มักพบความผิดปกติได้ตั้งแต่ก่อนอายุ 1 ปี สังเกตได้จากเด็กจะมีท่านอนผิดปกติจากกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือเกร็ง เด็กอายุมากกว่า 5 เดือน กำมือมากกว่าแบมือ หรือในเด็กที่มีอายุมากว่า 2 ปียังไม่สามารถเดินได้ เป็นต้น จำเป็นต้องพาเด็กเข้ารับการตรวจรักษาทันทีเมื่อสังเกตพบความผิดปกติ


วันพฤหัสบดีที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 9


                                            ไม่มีการเรียนการสอน  - ชดเชยวันปีใหม่